การเป่าแก้วแนววิทยาศาสตร์

แก้วที่เรารู้จักเป็นอย่างดี สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆได้มากมาย ซึ่งแก้วที่เรารู้จักมีคุณสมบัติเป็นการโปร่งแสง และยังมีความทนทานต่อสารเคมีต่างๆอีกด้วย นอกจากนั้นแก้วยังมีความแข็งแกร่งไม่แพ้วัสดุอื่นๆที่เรารู้จักเลยแหละ แก้วมีรูปร่างแปลกแตกต่างกันไป เนื่องจากแก้วถูกออกแบบด้วยการนำศิลปะมาใช้ผสมผสานกับวิทยาศาสตร์ จึงออกมาเป็นรูปแบบแก้วที่เราพบเจอตามสถานที่ต่างๆ 

การเป่าแก้วที่เราจะพูดถึงในบทความนี้เป็นการคิดค้นจากคนชาวซีเรีย 

ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเหตุต่างๆเป็นการที่เขาได้นำหินโทรนา(Trona) มาใช้ในการก่อเตาที่บริเวณที่ชายหาดแห่งหนึ่ง ซึ่งเขาได้ค้นพบว่าโทนาและทรายได้ถูกหลอมเข้าด้วยกัน แต่หลังจากที่ไฟได้ดับลงและสิ่งเหล่านั้นได้เย็นตัวลงจึงเห็นเป็นแก้วที่ใส 

การเป่าแก้วมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ นั้นก็คือ การเป่าแบบวิทยาศาสตร์ การเป่าแบบศิลปะเพื่อความสวยงาม

ทั้ง 2 แบบนี้มันมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร ซึ่งก่อนหน้านี้หรือสมัยก่อนนั้นการเป่าแก้วจะเป็นการเป่าด้วยการใช้ตะเกียงซึ่งจะคล้ายปัจจุบันแหละ ซึ่งวิธีการเป่านั้นสามารถทำได้ด้วยการเป่าทางด้านใดทางด้านหนึ่งของท่อโลหะกลวง (Blowing pipe) ซึ่งจะมีปลายของทางด้านหนึ่งนั้นเป็นหลอดแก้ว และพวกมันจะทำการหลอมรวมกันจับตัวเป็นก้อน เนื่องจากการเป่าแก้วประเภทนี้จะเป็นการเป่าที่สามารถสร้างรูปทรงและรูปแบบหรือขนาดได้ตามต้องการ แต่จะกระทำได้ก็ในขณะที่แก้วเหล่านั้นยังมีความร้อนอยู่นั้นเอง สำหรับการเป่าแก้วในวิธีนี้จะเป็นการใช้เวลาที่ค่อนข้างนานพอสมควร ซึ่งจะรวมไปถึงอาจขะต้องมีเตาหลอมในการทำด้วยซ้ำ และอาจจะต้องใช้จำนวนคนในการทำการเป่าแก้วในลักษณะแบบนี้

การเป่าแก้วแบบใช้ตะเกียงในการเป่าแก้ว ซึ่งวิธีในการทำนั้นจะเป็นการทำที่เร็วกว่าวิธีอื่นๆนอกจากจะเร็วกว่ายังง่ายกว่าอีกด้วยนะและไม่จำเป็นที่จะต้องใช้จำนวนคนในการทำอีกด้วยนะเพราะเป็นการกระทำได้ด้วยบุคคลคนเดียว 

สำหรับวิธีนี้จะเป็นการใช้ตะเกียงในการเป่าแก้วทำให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างตามจินตนาการหรือที่เรียกว่าศิลปะนั้นเอง

เนื่องจากตะเกียงเป่าแก้วจะถูกแบ่งให้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ แบบตั้งโต๊ะ และเป็นแบบมือถือ โดยกระทำการผ่านกรรมวิธีด้วยการส่งท่อเชื้อเพลิงเป็นการผ่านผลังงานจากแก๊สของเชื้อเพลิงในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ก๊าซบิวเทน หรือ ก๊าซหุงต้ม และ ก๊าซไฮโดรเจน เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการแยกท่อของก๊าซออกซิเจนรวมกันแล้วไปผสมที่หัวเตา ดังนั้นหากมีการจุดไฟจะมีความร้อนขึ้นสูงมากกว่า 1,000 องศาเซลเซียส